การประเมินประเด็นที่มีนัยส�ำคัญด้านความยั่งยืนของ บมจ. กสท โทรคมนาคม บมจ. กสท โทรคมนาคม บริหารจัดการประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการรวบรวมและจัดล�ำดับความส�ำคัญ ของประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการด�ำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทฯ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับ ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น การส�ำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อทบทวนการประเมินประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน บมจ.กสทโทรคมนาคมรวบรวมประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯโดยพิจารณาจากลักษณะและกลยุทธ์ ในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ความเสี่ยงของบริษัทฯ ตัวชี้วัดมาตรฐานของ Global Reporting Initiative มาตรฐานสากล และแนวโน้มของโลกในเครือธุรกิจเดียวกัน รวมถึงประเด็นความคาดหวังที่ได้มุมมองจากผู้มีส่วนได้เสีย ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความส�ำคัญของประเด็นจากผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย บมจ. กสท โทรคมนาคม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาระดับผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย แต่ละกลุ่มและทบทวนระดับความส�ำคัญที่วิเคราะห์จากมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อก�ำหนดเนื้อหารายงาน ร่วมกับผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 3 ทวนสอบประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีนัยส�ำคัญ บมจ. กสท โทรคมนาคม ทวนสอบประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ โดยหน่วยงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร แล้วจึงน�ำเสนอประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ผ่านการทวนสอบแล้วต่อผู้บริหาร เพื่อพิจารณาอนุมัติ และยืนยันประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยส�ำคัญภายใต้ขอบเขตผลกระทบทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ ขั้นตอนที่ 4 รับรองคุณภาพของรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะผู้บริหารของบมจ.กสทโทรคมนาคมมีบทบาทหน้าที่ในการติดตามและตรวจสอบการจัดท�ำรายงานความยั่งยืน ให้ค�ำแนะน�ำ เพื่อให้เนื้อหาของรายงานมีความสมบูรณ์และครอบคลุมประเด็นส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย และให้ความเห็นชอบตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลซึ่งบมจ.กสทโทรคมนาคมจะด�ำเนินการให้หน่วยงานภายนอก(Third Party) ท�ำการตรวจสอบรายงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความครบถ้วนของรายงานต่อไปในอนาคต ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บมจ. กสท โทรคมนาคม มุ่งมั่นพัฒนารายงานความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยจะพิจารณาจากความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านแบบสอบถามท้ายเล่มรายงาน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถสะท้อนการด�ำเนินงาน ด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ได้อย่างชัดเจน 50 บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๒๕๖๐